โรคมะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงเป็นได้
โรคมะเร็งปอด ที่เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่จำนวนมากแพร่กระจายไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอด จะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้นหรือไม่ อยู่กับชนิดของโรคมะเร็ง โดยมะเร็งปอดจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามขนาดของเซลล์ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์จะมีความสำคัญ และวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป เป็นหนึ่งสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนส่วนมากที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่มีสัญญาณบ่งบอกถึงการกดเกิดโรค เมื่อมีการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งมากยิ่งขึ้น โดยการรับ ควันบุหรี่ หรือ การ สูบบุหรี่ โดยตรง

สาเหตุของ โรคมะเร็งปอด เกิดจากอะไร
โรคมะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดกลุ่มก้อนของเซลล์ขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ และกระจายไปทั่วบริเวณโดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
- ชนิดที่ 1 มะเร็งปอดชนิดเล็ก (small cell lung cancer) เป็นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้รวดเร็ว จึงพบได้ร้อยละ 10-15%
- ชนิดที่ 2 มะเร็งปอด ชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non small cell lung cancer) เป็นเซลล์ที่แพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการผ่าตัดหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยมะเร็งชนิดนี้ จะพบได้แต่ปริมาณ 85-90%
ปัจจัยเสี่ยงในการ เกิดโรคมะเร็ง
ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจน ที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งปอด ได้แต่ปัจจัยบางประการอาจเพิ่มเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งแก่ผู้ป่วยได้ เช่น
- บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุดผู้ที่ สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 ถึง 30 เท่า เนื่องจากบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอดทำให้ความผิดปกติของเซลล์โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวน และ จำนวนปีที่สูบบุหรี่
- การได้รับสารพิษ และมลภาวะในสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น การได้รับความควันไฟหรือควันบุหรี่ แอสเบสตอส์ (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี สารเคมีอื่นๆ รวมไปถึงฝุ่นละออง PM 2.5 และไอระเหย จากนิกเกิลโครเมี่ยม และโลหะอื่นๆ
- อายุ และผู้ที่มีอายุเพิ่มสูงขึ้นความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ก็เพิ่มขึ้นตามโดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังจากอายุ 40 ปี แต่สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 10 ปี เมื่อได้รับสารเคมี หรือ ควันบุหรี่ จากคนรอบข้าง
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด คนใกล้ตัวหรือพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นมะเร็งปอดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง แม้ไม่ได้สูบบุหรี่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งปอด ควรปรึกษา หรือขอคำแนะนำแพทย์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และวางแผนการตรวจสุขภาพส่วนผู้ที่เคยได้รับการรักษามะเร็งปอดมาแล้วควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังการรักษา เนื่องจากมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้ซ้ำอีก โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น มักจะไม่แสดงอาการแต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาการอาจจะเห็นได้ชัดอาทิเช่น ไอเรื้อรัง ไอแห้ง ไอมีเสมหะ ไอมีเลือดปน มีปัญหาในการหายใจ เช่นหายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด เจ็บบริเวณหน้าอก ตลอดเวลา เสียงแหบ ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่นปอดบวม เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เมื่อมีอาการควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อตรวจเช็ค และทำการรักษา

สังเกตอาการของ โรคมะเร็งปอด และข้อควรพึงระวังดังนี้
โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งปอด ในระยะเริ่มต้นจะไม่มักแสดงอาการ แต่เมื่ออาการลุกลามอาจจะพบอาการที่ผิดปกติของร่างกายอาทิ เช่น
- มีอาการไอเรื้อรัง ไอแห้ง ไอแบบมีเสมหะ
- หายใจมีเสียงหวีด
- มีปัญหาในการหายใจ หรือหายใจสั้นเกินไป
- เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
- ไอ มีเลือดปนออกมา
- เสียงแหบ ผิดปกติไปจากเดิม
- ติดเชื้อในปอดบ่อยขึ้นเช่น ปอดบวม เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างรวดเร็ว
อาการเหล่านี้เป็นเพียงแค่ข้อสังเกตของ โรค มะเร็งปอด แต่อาจจะไม่เกี่ยวเนื่อง กับมะเร็งอาจมีโรคอย่างอื่นแทรกซ้อนขึ้นมาได้อย่างไรก็ดีหากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาโรคให้รวดเร็วมากที่สุด
ระยะของ โรค มะเร็งปอด
ระยะ โรคมะเร็งปอด ที่กำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็งการแพร่เชื้อกระจายของเซลล์มะเร็ง และทำงานผิดปกติของร่างกายมีความสำคัญต่อการรักษา เพราะช่วยให้แพทย์หาวิธีรักษาที่เหมาะสมส่งผลต่อการหายของโรค หรือการมีชีวิตยืนยาวโดยระยะของมะเร็งปอดแสดงออกเป็นดังนี้
ระยะของเซลล์มะเร็งปอดชนิดเล็ก แบ่งออกเป็น 2 ระยะได้แก่
- ระยะจำกัดของขนาดมะเร็ง (limited stage) เป็นระยะที่อยู่บริเวณปอดเท่านั้น หรือระยะเริ่มแรก
- ระยะแพร่กระจาย (extensive stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเชื้อไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะของเซลล์มะเร็งปอด ชนิดไม่เล็กแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1
มักจะพบมะเร็งเฉพาะบริเวณที่ปอดเท่านั้น ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะที่ 2 แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
- ระยะที่ 2A มะเร็งมีขนาดเล็ก และพบแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
- ระยะที่ 2B ขนาดของเซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด หรือเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ เช่นผิวหนังทรวงอก
ระยะที่ 3 แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
- ระยะที่ 3A ได้มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอื่น ที่ห่างจากปอดหรือพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองรอบๆ ปอด และเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังผนังทรวงอก หรือบริเวณกลางช่วงอก แล้ว
- ระยะที่ 3B เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองอีกด้าน ของทรวงอกหรือต่อมน้ำเหลือ งเหนือกระดูกไหปลาร้า มีเนื้องอกออกมามากกว่า 1 ก้อนในปอดหรือ เนื้องอกเจริญเติบโตในอีกด้านของทรวงอกเช่น หัวใจ หลอดอาหาร หรือมีของเหลวที่มีเซลล์มะเร็งอยู่รอบๆ ปอด
ระยะที่ 4
- ถือเป็นระยะสุดท้ายมะเร็งได้กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นกระดูกสมอง และตับ ซึ่งการรักษามะเร็งระยะนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างยาก

การดูแลรักษา มะเร็งปอด
สิ่งสำคัญในการรักษา มะเร็งปอด หรือการวินิจฉัยพิจารณาตำแหน่งขนาด และระยะเซลล์มะเร็งรวมไปถึงสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ที่ได้รับการรักษาโดยจะแบ่งออกเป็นการรักษา 6 วิธีการด้วยการดังนี้
1. การผ่าตัด
มีเป้าหมาย เพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอด และต่อมน้ำเหลือง ที่ช่องอกออกให้หมดซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจจะไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้ โดยทั่วไปไม่ใช่การรักษาเซลล์มะเร็งปอดชนิดเล็ก ซึ่งมักจะมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ววิธีการนี้ใช้รักษามะเร็งปอดชนิดที่ไม่ใช่เซลล์เล็กในระยะที่ 1 2 และ 3A
2. การสายรังสี (radiotherapy)
เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นสายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง เพื่อทำลายกลุ่มก้อนของเซลล์มะเร็งนั่นๆ วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับระยะมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แต่อาจใช้เฉพาะจุด เพื่อควบคุมการลุกลามการสายรังสีใช้เวลาไม่นาน และทำให้ไม่เจ็บปวดแต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างเช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลียระคายเคืองตามผิวหนัง บริเวณที่สายรังสี เบื่ออาหารเป็นต้น
3. การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy)
เป็นการให้ภูมิคุ้มกันระบบการทำงานการตรวจจับ และการทำลายเซลล์มะเร็งที่มีประสิทธิภาพ
4. การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy)
เป็นการใช้ยากำจัด และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกายโดยทั่วไปยาเคมีบำบัดจะใช้กับ มะเร็งปอดเป็นรูปแบบการฉีดเข้าเส้นเลือด
5. การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy)
เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งโดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติให้ประสิทธิภาพในการรักษา และไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่น ยาเคมีบำบัด
6. การรักษาด้วยการผสมผสาน
เป็นการรักษามะเร็งทั่วไปอาจจะใช้มากกว่า 1 วิธีขึ้นไป โดยผู้ป่วยผู้ป่วยควรทำเข้าใจเกี่ยวกับการรักษา และผลข้างเคียงของแต่ละวิธีเพื่อให้ความร่วมมือ และการรักษาให้ประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งหมดนี่ก็คือความรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปอด รวมไปถึงการดูแลตนเองภายหลังการรักษาหากอย่าง สูบบุหรี่ อยู่ควรหยุดในทันที เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้นควรออกกำลังกายด้วยการเดินอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที เพื่อส่งเสริมการทำงานของปอด และหัวใจให้แข็งแรงหรือพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันกับการกลับมาของเซลล์มะเร็งที่อวัยวะอื่นๆ หรือลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้
Most Commented Posts