ลืมง่าย จำยาก เสี่ยง โรคอัลไซเมอร์ หรือ โรคขี้หลง ขี้ลืม
สมองเสื่อม หรือ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสภาวะการทำงานของระบบสมองบกพร่อง ถดถอยในด้านความคิดไม่ว่าจะเป็นความจำ การวางแผน การตัดสินใจ การบริหารจัดการ การใช้ภาษาสมาธิ ความใส่ใจ ความสามารถเกี่ยวกับสังคม ความจำสั้น โรคขี้หลงขี้ลืม มีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจําวัน และการเข้าสังคม โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชเรื้อรัง ความจำเสื่อม หรือวิตกกังวลรุนแรง ขณะวินิจฉัย ซึ่งการวินิจฉัยสมองเสื่อม อาศัยข้อมูลจากประวัติผู้ป่วย และญาติใกล้ชิด โดยการตรวจร่างกาย ทั้งในระบบประสาท และสมอง การตรวจทางด้านปฏิบัติ รวมไปถึงการตรวจทางจิตวิทยา
ทำความรู้จักกับ โรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม คืออะไร
สมองเสื่อม หรือ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของระบบสมองถดถอย เป็นหนึ่งในรูปที่เกิดจาก ความจำเสื่อม ของโครงสร้างเนื้อเยื่อในสมองมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามมาธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่ความเสื่อมของสมอง เกิดจากการขาดโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบต้า อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดที่ไม่ละลายน้ำ จึงมักไปจับกับเซลล์สมอง และส่งผลให้สมองเสื่อม ฝ่อลง รวมถึงการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง เสียหายจากการลดลงของสาร อะซีติโคลีน (acetylcholine) ระบบประสาท ที่ส่งผลกับความจำโดยตรง
การสะสมของสาร (beta-amyloid) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของค่าสมองค่อยๆ ลดลงเริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลายผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำ โดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายเกิดขึ้น แพร่กระจายสู่สมองในส่วนอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป และกลายเป็น โรคขี้หลงขี้ลืม ไปในที่สุด

สาเหตุของ อัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดโดยโรคนี้ จะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุมักพบร้อยละ 10-15% ในประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และพบร้อยละ 20 ถึง 30% ในประชากรที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป โดยสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง จนบางส่วนสมองทำหน้าที่ลดลง
เกิดความฝ่อ ทำให้กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น และแสดงอาการต่างๆ ออกมาขี้หลง ขี้ลืมถามซ้ำไป วนมา อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ ความจำเสื่อม มีการศึกษาพบว่าในสมองผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มีการสะสมของโปรตีนบางชนิดอย่าง amyloid และ tau มากกว่าผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด อัลไซเมอร์ ที่ควรระวัง
ปัจจุบัน โรคอัลไซเมอร์ ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแค่การรักษาให้ผู้ป่วยทุเลาลง หรือประคับประคองไม่ให้อาการแย่ลง รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยง ที่สามารถควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกิดการเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในปัจจุบันดังนี้
- อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด โรคขี้หลงขี้ลืม โดยพบว่าผู้ที่มีอายุหลัง 65 ปีผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุกๆ 5 ปี ที่มีอายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
- เกิดจากพันธุกรรม เครือญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคนี้ และมียีนส์บางอย่าง เช่น (apoE4) เป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
- ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโรคดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีน ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ได้สูง
- การที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนรวมไปถึงอุบัติเหตุ ที่มีการศึกษาทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และภาวะ ความจำเสื่อม จากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เคยมีประวัติอุบัติเหตุ หรือกระทบกับศีรษะมากกว่าคนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาทางการแพทย์ยังได้ระบุว่า การได้รับกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุก็เป็นปัจจัยเสี่ยงกว่าการเกิดการภาวะสมองเสื่อมได้
- โรคอัลไซเมอร์ที่มีส่วนที่เกิดจากโรคหลอดเลือด รวมไปถึงพบโรคหลอดเลือดในสมองได้ ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเลือดสมอง จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักเกินมาตรฐานการขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอื่นๆ ภาวะซึมเศร้า ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การขาดปฏิสัมพันธ์ผลในครอบครัว ทำให้ขาดการทำงานของสมองในหลายๆ ด้าน และยังเป็นความเสี่ยงแก่การเกิดโรคซึมเศร้าอีกด้วย
อาการของ โรคอัลไซเมอร์ ที่มักพบได้บ่อย
สภาวะ โรคอัลไซเมอร์ นั้นนอกจากปัญหาเรื่องความจำที่เด่นชัด และสังเกตได้ง่ายยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยที่แตกต่างกันออกไปในช่วงวัยของผู้ป่วยแต่ละคน โดยทั่วไปแล้ว อาการเหล่านี้มักมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป และการเข้าสังคมด้วยโดยจะเห็นได้เด่นชัดดังนี้
- สูญเสียความจำ หรือข้อมูลระยะสั้นมีการหลงลืมที่รบกวนชีวิตประจำวัน ลืมของไว้ที่หนึ่งแต่ไปหาอีกที่หนึ่งเช่น วางของทิ้งไว้แล้วลืม นึกชื่อคนที่รู้จักไม่ออก หากมีอากาศรุนแรงมากขึ้น ก็อาจทำให้สูญเสียความทรงจำในอดีตได้
- มีความสับสนในช่วง สถานที่ วันเวลาที่ผ่านมา
- มีความสับสนในทิศทางเช่น จำเส้นทางที่เคยใช้เป็นประจำไม้ได้
- มีความจำแย่ลง และตัดสินใจได้ช้ากว่าปกติ
- มีอารมณ์แปรปรวน เปลี่ยนแปลง เช่น ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
- มีการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาที่ทำได้ยากขึ้น หรือทำได้แย่ลง ขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
- มีปัญหาในการทำงาน ทำงานให้สำเร็จได้ยากมากกว่าปกติ
- มีการแยกตัวออกจากสังคม งานหรือกิจกรรมที่เคยทำที่ชื่นชอบ กับไม่ชอบ

การป้องกัน โรคขี้หลงขี้ลืม
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด อัลไซเมอร์ การป้องกันโรคนี้ จึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงพี่อาจจะทำให้เกิดโรคนี้ได้ โดยการป้องกันเบื้องต้นดังนี้
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลสูง
- การรักษาน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- ไม่สูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีควันบุหรี่
- ออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ ลดการป้องกัน ความจำเสื่อม ได้
- ระมัดระวัง การเกิดอุบัติเหตุที่มีผลต่อสมอง และการหกล้ม
- ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจติดตามโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เป็นระยะๆ หากมีอาการเจ็บป่วยควรพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อการรักษาได้ทันท่วงที
และนอกจากนี้ การฝึกฝนสมองไม่ว่าจะเป็นการคิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเก มฝึกใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ พบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ มีความสัมพันธ์ทางสังคม ไปงานเลี้ยง ไปชมนิทรรศการอย่างอื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม ช่วยให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมีคุณภาพที่ดีขึ้น และมีความสุข ห่างไกลจากโรคนี้ได้
การดูแลรักษาผู้ป่วย สมองเสื่อม อัลไซเมอร์
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการรักษา โรคอัลไซเมอร์ ให้หายขาดแต่มุ่งเน้นการรักษา เพื่อลดความบกพร่อง ทุเลาอาการให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน และเข้าสังคมได้โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีนี้ จะมีหลายรูปแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่ภาวะความรุนแรงของโรค และขีดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ป่วยแต่ละราย หรือมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม โดยการดูแลดังนี้
- การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวัน และการฝึกทักษะการเข้าสังคมให้ผู้ป่วยได้ดูแล เรื่องกิจวัตรของตัวเองโดยมีผู้คอยสนับสนุนให้ควายความช่วยเหลือ ตามขีดความสามารถ
- สนับสนุนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในสังคมครอบครัวไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม ภายในครอบครัว หรือการพูดคุย ทำกิจกรรมสันทนาการตามความเหมาะสม
- การดูแลปรับสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสม ลดสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นเสียงรบกวน รวมไปถึงการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย เก็บของให้เป็นที่เป็นทางในทางเดิน จะได้สะดวกมีแสงสว่างที่เพียงพอเพื่อลดการอุบัติเหตุแก่ผู้ป่วย
- การฟื้นฟูผู้ป่วย โรคขี้หลงขี้ลืม ด้านกายภาพ โดยทำกายภาพบำบัด การสัมผัสกระตุ้นระบบประสาทโดยการ บีบ นวด จับ กระตุ้น กิจกรรมการเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย ให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมรรถภาพทางกายภาพให้ดีขึ้น
2. การรักษาด้วยยา
ยาที่ใช้จะรักษาตามอาการโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ เพื่อประคับประคองของแต่ละบุคคล และแพทย์จะให้ยาตามความเหมาะสมดังต่อไปนี้
2.1 ยาที่ใช้รักษาอาการ ด้านความคิด
ได้แก่กลุ่มยาที่ยับยั้ง ที่ทำลายสารเสื่อมประสาทในสมอง (acetylcholine esterase inhibitor) ทำให้มีสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้นเช่นยา donepezil, galantamine, rivstigmine เป็นต้น สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงรุนแรง
2.2 ยาที่ใช้การรักษาพฤติกรรม อารมณ์ และความผิดปกติทางจิต
ปัญหาพฤติกรรมอารมณ์ และความผิดปกติทางจิตเกิดขึ้นได้บ่อย ในผู้ป่วย ความจำเสื่อม ซึ่งอาจต้องใช้ยาตามอาการทางจิตร่วมการรักษา เช่นการต้านยาต้าน ซึมเศร้า ยาลดอาการผิดปกติผิด ทางหลอดเลือด ยาลดคลายความกังวล หรือยานอนหลับ โดยแพทย์จะปรัชญาตามอาการ เพื่อให้เกิดความสมดุล โดยพิจารณาถึงอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก และผลข้างเคียงในการใช้ยา
หากท่านต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็น ภาวะโรคสมองเสื่อม ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าหากมีอาการที่รุนแรงควรจะต้องพาไปพบแพทย์ เพื่อรักษาในปัจจุบันโดยมุ่งเน้นไปที่สาเหตุของการเกิด ไม่ว่าจะเป็นสภาวะแวดล้อมพันธุกรรม และการใช้ยากระตุ้นสมอง ที่สามารถวางแผนระยะยาว ในการปรับสภาพของผู้ป่วยให้เกิดความปลอดภัย
อ้างอิง
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ศูนย์โรคระบบประสาท
- คลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน และสังคมคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
Most Commented Posts