สัญญาณเตือน!! โรคง่วงนอนตลอดเวลา เสี่ยงป่วยโรคร้าย
ปัญหาที่มักพบในทุกกลุ่มทุกวัย โรคง่วงนอน อาการง่วงนอน มากผิดปกติ แม้เวลากลางวันหรือกลางคืนทั้งๆ ที่นอนรู้สึกเต็มอิ่มแต่ระหว่างวัน กลับมีอาการง่วงนอนเป็นสัญญาณเตือนได้ว่า อาจจะเป็น โรคง่วงนอนตลอดเวลา ได้ ปัญหาที่มาพร้อมกับความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงหลายชนิด ซึ่งในบางรายอาจมีอาการรุนแรงเรียกว่าโรคลมหลับซึ่งมีอาการง่วงที่ไม่สามารถต้านทานได้ จนหลับไปแบบทันทีโดยไม่รู้สึกตัว โดยอาการร่วมจะมีอาการอ่อนเพลียสมองเฉื่อยชา มึนงง
โรคง่วง นอนตลอดเวลา หมายถึงอะไร ?
ทำความรู้จักกับ โรคง่วงนอนตลอดเวลา ที่มาพร้อมกับความผิดปกติของ (hypersomnia) เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนมากทั้งช่วงกลางวัน และกลางคืน ถึงแม้จะนอนเต็มอิ่ม หรือนอนมากเกินไปก็ตาม ทำให้รู้สึกนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอที่ แอบหลับระหว่างวันได้วันละหลายๆ รอบไม่ว่าจะเป็นระหว่างการทำงาน แม้แต่เวลาที่รับประทานอาหารพูดคุยกับผู้อื่น ก็สามารถหลับได้ หากได้นอนแล้วอาจจะตื่นยากกว่าปกติ มีระยะเวลาในการนอนมากกว่า 8 ชั่วโมง แต่เมื่อตื่นมาจะมีอาการอ่อนเพลีย อยากกลับไปนอนอีก ซึ่งเป็นปัญหาที่นอนเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มสักที

สาเหตุของการ เกิดโรคง่วงนอนตลอดเวลา
อาการง่วงนอน มากกว่าผิดปกติ อาการที่คนเราไม่สามารถตื่นตัวได้ระหว่างวัน และในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งมีจะมีอาการอ่อนเพลีย สมองเฉื่อยชา มึนงง ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็มาจากปัจจัยดังนี้
- คุณภาพการนอนที่ไม่ดี ทำให้หลับๆ ตื่นๆ ตื่นบ่อย เช่นอาจจะเกิดภาวะนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับหรือภาวะขาอยู่ไม่สุขขณะหลับ
- สภาพแวดล้อมในการนอนที่อาจทำให้ตื่นบ่อย หรือมีเสียงดังมารบกวนขณะเวลานอน
- การจำชั่วโมงที่นอนไม่เพียงพอ
- การได้รับยาบางตัวที่ทำให้ง่วง เช่นภาวะบกพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือการเจ็บป่วยทางจิต โรคซึมเศร้า หรือโรคการนอนหลับ เช่นภาวะลมหลับ
ง่วงนอนบ่อย ง่วงนอนตลอดเวลา เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง
รู้หรือไม่ โรคง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งที่เรานอนเยอะทั้งในตอนกลางคืน มากกว่า 8 ชั่วโมง หรือมีอาการหิวนอนถี่ๆ บ่อยๆ พร้อมที่จะรับได้ตลอดเวลาเป็นสัญญาณเตือน ของของโรคภัยเหล่านี้อยู่ก็ได้
- โรคนอนไม่หลับ มักหลับๆ ตื่นๆ นอนหลับไม่สนิทมักสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อยๆ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนในตอนกลางวันโดยไม่มีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย
- โรคความเครียด อาการนอนไม่หลับ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของ โรคเครียด ก็ได้เนื่องจากความเครียดส่งผลกระทบมาถึงระบบฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย และส่งผลมาอย่างระบบการทำงานอื่นๆ ในตัวเราเป็นที่มาของการนอนไม่หลับทำให้อ่อนเพลีย
- โรคเบาหวาน หลายคนอาจจะมองว่า โรคง่วงนอน จะเป็นเบาหวานได้อย่างไร อาการอ่อนเพลีย และง่วงนอนบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากมีอาการปัสสาวะบ่อยผิดปกติเหนื่อยง่าย หิวน้ำบ่อย กินจุกกินจิก ในขณะที่น้ำหนักตัวลดลง การมองเห็นภาพมัวแผลหายช้า หรืออาการชาที่ปลายนิ้วมือ และเท้าร่วมด้วย ควรสังเกตพฤติกรรมของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
- โรคไทรอยด์ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ไ ม่ว่าจะเป็นภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายหรือมีสภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ก็อาจทำให้ร่างกายแสดงอาการของโรคออกมาในรูปอาการอ่อนเพลียง่วงนอนบ่อยๆ จนผิดปกติได้
- โลหิตจาง มักพบในผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาผิดปกติ เป็นส่วนใหญ่ก็อาจจะทำให้รู้สึกง่วงนอนบ่อยๆเนื่องจากภาวะในร่างกายมีระบบไหลเวียนเลือดไม่สมบูรณ์ อาจนำมาซึ่งอาการอ่อนเพลีย และทำให้อยากนอนหลับพักผ่อนมากกว่าผิดปกติ
- โรคนอนกรน เป็นการกระทบต่อสุขภาพในการนอน และผู้ร่วมนอนได้ โดยคนที่นอนกรนมักไม่ได้รับผลกระทบเท่าไหร่ แต่ผู้ที่นอนด้วยอาจจะนอนไม่หลับสนิท หรือสะดุ้งตื่นจากเสียงการกรน ดังนั้นจึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียง่วงนอนบ่อยๆ ได้
- เสี่ยงต่อการหยุดหายใจเฉียบพลัน หรือไหลตาย เพราะเนื้อสมองตาย เนื่องจากการหลับไหลของสัญญาณสมองที่นานเกินกว่าเวลานอนปกติของคนทั่วไป
- เสี่ยงอายุสั้น เพราะมีผลวิจัยออกมาในปี 2010 ที่นอนเกินกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน อาจจะมีโอกาสเสียชีวิตเร็วกว่าผู้ที่นอน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะร่างกายไม่ได้ขยับไม่ได้เพิ่มออกซิเจน ให้อวัยวะภายในร่างกาย
- เสี่ยงต่อการมีบุตรยาก เพราะฮอร์โมนเพศหญิงจะเป็นปกติ เมื่อมีการหลับนอนพักผ่อนที่เพียงพอ อ้วนง่าย เพราะร่างกายไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกาย และทำให้เกิดโรคร้ายตามมาอีกหลายโรค
- ทำร้ายสมอง เพราะการนอนมากเกินไปทำให้สมองเสื่อม คิดช้า หรือทำอะไรเชื่องช้า ไร้ชีวิตชีวา หมึนงง ตลอดเวลาขยับร่างกายน้อยลงส่งผลให้กระดูก และกล้ามเนื้อข้อต่อประสิทธิภาพลดลงไปด้วย
- โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคง่วงนอน เกิดจากความผิดปกติของการกลไกในร่างกาย ซึ่งยังสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ แต่ที่เด่นชัด คือผู้ที่เป็นโรคนี้ สะอ่อนเพลียเรื้อรัง มีอาการเหนื่อยล้าอ่อนแรงปวดเมื่อยตามเนื้อ ตามตัว โดยไม่รู้สาเหตุ อีกทั้งมักมีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ทำให้ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น และง่วงนอนทั้งในกลางวัน และกลางคืนบ่อยๆ

วิธีการป้องกัน โรคง่วงนอนตลอดเวลา
หากท่านมีอาการสังเกตว่าตัวเองมีความผิดปกติว่าจะเป็นโรคนี้ ควรจะหาวิธีการป้องกันโดยด่วน หรือท่านสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกัน โรคง่วงนอน ตลอดเวลาได้ดังนี้
- เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน กำหนดเวลาเข้านอน และตื่นนอนเวลาเดิมติดต่อกัน เป็นระยะเวลานานๆและนอนหลับพักผ่อนให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง ไม่ควรมาก หรือน้อยเกินไป หากตื่นแล้วให้ลุกจากที่นอนไม่ควรนอนต่อ
- อาบน้ำก่อน เพื่อให้ร่างกายสะอาดสบายเนื้อสบายตัว ก่อนนอนทุกครั้ง
- การใช้ยานอนหลับเท่าที่จำเป็น หรือตามแพทย์สั่ง หากนอนไม่หลับ ควรปรับวิธีการนอนด้วยตนเองเพราะการรับประทานยาเป็นประจำ อาจจะทำให้ส่งผลกระทบต่อตับ และระบบประสาท หรืออาจจะทำให้ดื้อยา
- หลีกเลี่ยงการนอนตอนกลางวัน หรือถ้าหากงีบกลางวันไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืนจนจบลง ด้วยการนอนมากขึ้นกว่าเดิม
- รองท้องก่อนนอนเช่นดื่มน้ำอุ่นๆ ช่วยให้อิ่มท้องหลับสบายขึ้น ตื่นมาจะได้รู้สึกสดชื่น
- ถ้าหากนอนไม่หลับให้หากิจกรรมก่อนนอนเช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัวและผ่อนคลาย
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดเครื่องดื่มชา กาแฟ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง แป้ง และน้ำตาล
สำหรับผู้ที่มี อาการง่วงนอน แบบผิดปกติต่อเนื่อง รู้สึกอ่อนเพลียทั้งที่พักผ่อน เพียงพอควรเข้ารับการรักษาเพื่อวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ให้ร่างกายได้กลับมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หรือสามารถปรึกษา สายด่วนสุขภาพ 1422
Most Commented Posts