วิธีการรับมืออยู่ร่วมกับ คนเป็นโรคซึมเศร้า ด้วยความเข้าใจ

ปัญหาโรคซึมเศร้า กับวิธีการรับมืออยู่กับ คนเป็นโรคซึมเศร้า

วิธีการรับมืออยู่ร่วมกับ คนเป็นโรคซึมเศร้า ด้วยความเข้าใจ

ในปัจจุบันคนไทยมักพบ ปัญหา ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ได้ช่วงเพศวัย และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นโรคทางสุขภาพจิตชนิดหนึ่งที่อาจส่งผลต่อการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นการทำงานการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงความสัมพันธ์สำหรับคนรอบข้าง โดยสาเหตุของ คนเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งมาจากหลากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นความผิดหวังที่รุนแรง หรือการได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ และรู้หรือไม่ สามารถรักษาด้วยการให้กำลังใจ โดยคนรอบข้าง โดยการแสดงออกทางกายไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสมือ ให้กำลังใจการพูดคุย และให้คำแนะนำคำปรึกษาการเห็นอก เห็นใจสำหรับคนที่เป็น โรคซึมเศร้า เชื่อว่าเห็นผลได้ดี และผู้ป่วยหลายรายมีอาการที่ดีขึ้น

วิธีการรับมืออยู่ร่วมกับ คนเป็นโรคซึมเศร้า ด้วยความเข้าใจ
วิธีการรับมืออยู่ร่วมกับ คนเป็นโรคซึมเศร้า ด้วยความเข้าใจ

ทำความรู้จักกับ ภาวะซึมเศร้า คืออะไร

โรคซึมเศร้า ถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง อันเกิดจากความผิดปกติของการสารในสมอง 3 ชนิดได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) นอร์เอปิเนฟริน (norepinephrine) และชนิดสุดท้ายชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิดอารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมรวมไปถึงสุขภาพทางร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันในหลายๆ ด้าน และคนรอบข้าง มีการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สามารถรักษาได้โดยผลรอบข้าง หรือถ้าหากมีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต

อาการของโรคซึมเศร้า มีลักษณะอย่างไร

อาการของโรคซึมเศร้า โดยท่านสามารถสังเกต กับบุคคลรอบข้าง หรือสังเกตตัวเองถ้าหากมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปคิดว่าจะเป็น ซึมเศร้า ควรทำการศึกษาครอบครัว หรือคนรอบข้าง และสังเกตพฤติกรรมของตัวเองว่ามีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ ที่เป็นเหตุบ่งบอก ถึงอาการของ ปัญหาโรคซึมเศร้า อย่างเช่น

  • ซึมเศร้าหดหู่ เศร้าหมอง
  • หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย มีอารมณ์ค่อนข้างรุนแรง
  • รู้สึกเบื่ออาหาร หรือรู้สึกอยากอาหารมากเกินไป
  • รู้สึกเบื่อหน่าย หมดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยชอบมากๆ
  • มีผลกระทบต่อการนอน นอนไม่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ หรืออาจจะนอนมากเกินไป
  • เหนื่อยง่ายไม่ค่อยมีแรง ไม่มีพลังไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรเลย
  • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มั่นใจในตัวเอง หรือโทษตัวเองในเรื่องที่ผ่านมา
  • มีความคิดทำร้ายตัวเองอยากจะฆ่าตัวตาย

หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นอย่างน้อย 5 ข้อขึ้นไป เป็นเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 14 วันอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น โรคซึมเศร้า ได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อหาวิธีการรักให้ทันท่วงที

อาการของโรคซึมเศร้า มีลักษณะอย่างไร
อาการของโรคซึมเศร้า มีลักษณะอย่างไร

วิธีปฏิบัติเมื่ออยู่ร่วมกับผู้ป่วยเป็น ซึมเศร้า

หัวใจหลักสำคัญในการอยู่ร่วมกับ คนเป็นโรคซึมเศร้า หรือคนในครอบครัวที่มีอาการซึมเศร้า ที่มาจากภาวะสารเคมีในสมองเสียสมดุล เกิดความแปรปรวนส่งผลให้เกิดอารมณ์ด้านลบ เบื่อหน่าย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่รู้หรือไม่ บุคคลรอบข้างสามารถช่วยพวกเขาให้กลับมามีชีวิตที่ดี และเป็นปกติได้โดยท่านจะต้องดูแล และปฏิบัติเมื่ออยู่กับ ผู้ป่วยซึมเศร้า ดังต่อไปนี้

  • รับฟังปัญหาด้วยความเข้าใจ พูดคุยด้วยท่าทีสบายๆ ไม่ตัดสินใจแทน เพราะอาการผู้ป่วยซึมเศร้ามักมีความคิดว่าตัวเอง เป็นภาระของผู้อื่นดังนั้น การพูดคุย และให้กำลังใจให้เค้าได้มีที่ระบายความรู้สึก จะทำให้เขาได้สบายใจมากยิ่งขึ้น และรับฟังอย่างตั้งใจไม่กดดัน หรือตัดสินให้เขาได้เกิดความสบายใจให้ผู้ป่วยอยากเล่าในสิ่งที่ตนเองออกมาเต็มที่ เพราะบางครั้งเขาอาจจะมีความคิดที่ทำร้ายตัวเอง หากคนรอบข้างได้มีโอกาสรับฟัง จะสามารถป้องกันเหตุร้ายดังกล่าวได้
  • ชวนทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหว ชวนเล่นกีฬาหรือเกมเบาๆ งานศิลปะ นอกจากจะลดโอกาสความคิดฟุ้งซ่านที่หดหู่แล้วยังทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายช่วยยับยั้งสารความสุขอย่างเอ็นโดรฟินออกมา ซึ่งจะทำให้เขาเกิดความสบายใจมากยิ่งขึ้น
  • อย่ากดดัน หรือเร่งรัด เมื่อรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นห้ามพูด หรือทำให้พวกเขารู้สึกว่าเมื่อไหร่จะหายหายได้แล้ว เพราะผู้ยิ่งผู้ป่วยรู้สึกกดดัน ผิดหวัง จากอาการที่เริ่มดีขึ้น และความเครียดเหล่านั้นจะส่งผลให้จิตใจแย่ลง และอาจเป็นหนักกว่าเดิมได้
  • ทำให้เขารู้สึกสบายใจ โดยการให้กำลังใจอย่างเช่น บอกว่าเราอยู่ตรงนี้นะ ต้องการอะไรหรือความช่วยเหลืออะไรบอกได้เลย ทำให้เขาอุ่นใจว่าเรายังอยู่เคียงข้างเขาเสมอ หรือการแสดงออกทางกายภาพอย่างเช่น ให้ความอบอุ่น จับมือ หรือกอดให้กำลังใจ
  • ไม่ควรใช้คำพูดที่รุนแรง และใช้น้ำเสียงท่าทีในการพูดกับพวกเขาแสดงความจริงใจให้เขารับรู้ และแน่นอนสิ่งสำคัญที่ไม่ควรแสดงออกนั่น ก็คือความรู้สึกถึงความรำคาญ เพราะอาจจะทำให้ เขาคิดว่าตัวเองไม่ดี หรือไม่มีคุณค่าซึ่งปัญหาที่ตามมาก็อาจจะทำให้เขาคิดสั้นหรือฆ่าตัวตายได้

หัวใจหลักในการดูแล ผู้ป่วยซึมเศร้า สิ่งสำคัญต้องเปิดใจรับฟัง และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ตัดสินคนที่เรารัก ถ้าหากผู้ป่วยมาปรึกษาเราควรไม่ปฏิเสธ และไม่ควรถามหาเหตุผลใดๆ เราควรจะทำความเข้าใจ และพูดคุยด้วยความห่วงใย และแสดงถึงความจริงใจให้เขารับรู้ว่าสิ่งที่เราพูดนั้นคือความจริง ซึ่งสามารถบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อย และยังจะช่วยให้เขารู้สึกอุ่นใจว่าเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว

หากคนใกล้ตัวมี ปัญหาโรคซึมเศร้า เราจะเสี่ยงเป็นด้วยหรือไม่
หากคนใกล้ตัวมี ปัญหา โรคซึมเศร้า เราจะเสี่ยงเป็นด้วยหรือไม่

หากคนใกล้ตัวมี ปัญหาโรคซึมเศร้า เราจะเสี่ยงเป็นด้วยหรือไม่

หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับ คนเป็นโรคซึมเศร้า หรือคนรอบข้างที่อารมณ์หงุดหงิด เศร้าหมอง ก็อาจจะทำให้เสียบรรยากาศในการใช้ชีวิตได้ หรืออาจจะไม่สดใส อาจจะมีผลกระทบให้ทำให้เราคิดลบไปด้วย ถ้าหากเรามีภูมิต้านทานที่ดี และดูแลเอาใจใส่ตัวเอง หรือปรึกษาคนในครอบครัวไม่ปล่อยปละละเลย ก็มีโอกาสที่จะไม่เป็นโรคซึมเศร้าได้ และสิ่งสำคัญจะต้องไม่กดดันตัวเอง

สำหรับคนที่เป็น โรคซึมเศร้า หรือมองว่าตัวเองอ่อนแอไม่อยากเป็นภาระของคนอื่น คนรอบข้างควรจะปลอบใจ หรือถ้าหากมีอาการรุนแรงควรพาไปพบแพทย์ และเดินหน้ารักษาอย่างต่อเนื่อง และยิ่งถ้าหากท่านมาปรึกษาแพทย์ เร็วมากเท่าไหร่ก็จะมีโอกาสหายเร็วขึ้นมากเท่านั้น และการรักษาที่สม่ำเสมอจะช่วยให้หายขาดจากโรคนี้ได้จริงๆ และสิ่งสำคัญพยายามสังเกตตัวเองมองโลกในแง่บวก หรืออาจจะปรึกษาหา เพื่อนคุยหาที่ระบายไม่เก็บไว้คนเดียว ไม่ว่าจะเป็นการระบายกับแฟน เพื่อน สนิท หรือคนในครอบครัว และคนที่ไว้ใจได้ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

Related Posts