ภาวะซึมเศร้า ภัยใกล้ตัวที่ควรระวัง

ภาวะซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้า


ภาวะซึมเศร้า ภัยใกล้ตัวที่ควรระวัง

ภาวะซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้า เป็นโรคชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ช่วงวัยของชีวิต ซึมเศร้า ทางการแพทย์มีชื่อว่า clinical depression เป็นภาวะซึมเศร้า ที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า และพยาธิสภาพชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในหลายๆโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคอารมณ์โรคซึมเศร้า Major Bepressive Disorder หรือ Depressive Episode และโรคไบโพล่า Bipolar Disorder โรคทางอายุรกรรมบางโรค สารยาบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าที่รุนแรงได้ แต่สำหรับใครที่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เป็นนั้นจะอ่อนแอ ล้มเหลว หรือมีไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ เช่นการสูญเสียคนรัก การหย่าร้างความผิดหวัง หรือมีอะไรมากระทบจิตใจ ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ และในปัจจุบันโรคนี้ สามารถรักษาหายได้ด้วยการกินยา และรักษาทางจิตร่วมกัน

ภาวะซึมเศร้า ภัยใกล้ตัวที่ควรระวัง
ภาวะซึมเศร้า ภัยใกล้ตัวที่ควรระวัง


อาการเบื้องต้นของคนเป็น ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้า เป็นอาการผิดปกติของอารมณ์ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ทั้งในความคิด ความรู้สึกพฤติกรรม เป็นภาวะเศร้าหมองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกเฉยชาไม่สนใจสิ่งต่างๆ ปลีกตัวออกห่างจากสังคม ก่อให้เกิดอาการทางจิตได้ และการดำเนินชีวิตได้อย่างลำบาก หากท่านรู้สึกว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า ควรจะทำการทานยา หรือบำบัดจิตใจ ทั้งสองอย่างสามารถจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการที่ดีขึ้นได้ โดยอาการซึมเศร้าจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • รู้สึกวังเวง อ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว อยากร้องไห้ สิ้นหวัง ไม่อยากทำอะไร
  • รู้สึกโกรธหงุดหงิด รำคาญ ในเรื่องที่ตนเองเคยทำมาก่อน
  • มีปัญหาทางด้านการนอนหลับ เช่นการนอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับกระสับกระส่าย
  • ขาดความสนใจ หรือความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • ความเคลื่อนไหวช้าลง เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ตลอดเวลาไม่อยากทำอะไร
  • ตีตัวออกห่างจากสังคม ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิด และการตัดสินใจน้อยลง
  • รู้สึกหวาดกลัว คิดมาก คิดสั้น หรือพยายามฆ่าตัวตาย
  • มีปัญหาในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคม
  • เบื่ออาหาร หรืออยากอาหารมากกว่าผิดปกติ
  • มีอาการป่วยทางกายที่ไม่พบสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปวดหัว หรือปวดหลัง
  • รู้สึกไร้ค่ าผิดหวัง หมกมุ่นเรื่องความล้มเหลวที่ผ่านมา แล้วโทษตัวเอง คิดในเชิงลบ
  • ไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ขาดสมาธิ มีปัญหาเรื่องความจำ

เมื่อมีอาการ ซึมเศร้า ที่กล่าวมานี้ ท่านควรจะเข้ารับการรักษา หรือบำบัดจิต ทานยาควบคู่ โดยมักผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะกระทบต่อชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน การพบปะสังสรรค์ การไปโรงเรียน บางรายอาจจะรู้สึกเศร้าหมองไม่มีความสุข โดยไม่ทราบสาเหตุ และถ้าหากไม่รักษาอาจจะคิดสั้น หรือฆ่าตัวตายได้ไงทันที


สาเหตุของ โรคซึมเศร้า ที่มักพบได้บ่อย ในสังคมปัจจุบัน

สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิด ภาวะซึมเศร้า ที่มักพบได้บ่อย มีทั้งความเสี่ยงได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงทางพันธุกรรม สภาพจิตใจ ประจวบกับการเผชิญสถานการณ์เลวร้าย ที่มักพบเจอมาในชีวิต ซึ่งมีผลต่อการเกิดของโรคได้ โดยสาเหตุหลักๆ ก็จะแยกออกเป็นดังนี้

  1. สภาพจิตใจ ที่เกิดจากการเลี้ยงดู เป็นปัจจัยเสี่ยง ทำให้ท่านได้พบกับสภาวะการเกิดโรค ซึมเศร้า ได้เพราะคนที่ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง มักมองตนเองในแง่ลบๆ หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิตทำให้เขามีโอกาสป่วย และสภาพจิตใจย่ำแย่
  2. สภาวะซึมเศร้าจากความเครียด เป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนควรระวังไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือผู้ป่วยเองที่อาจจะมาจากภาวะความเครียด มักพบในผู้ป่วยที่มีความปกติของระดับสารเคมีที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์ซึ่งเกิดจากความเครียด และสภาวะภายในร่างกาย
  3. การเผชิญสถานการณ์เลวร้าย เมื่อท่านตกอยู่ในภาวะสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเรื้อรังความสัมพันธ์กับคนในชีวิตไม่ราบรื่น หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ อาจจะเกิดต้นทำให้เกิด โรคซึมเศร้า กำเริ่มได้ไ ม่ว่าจะเป็นการหย่าร้าง การสูญเสียบุคคลที่รัก ซึ่งภาวะเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

ภาวะ ซึมเศร้า ในแต่ละช่วงวัย

ผู้ป่วย ซึมเศร้า มักมีอาการกระทบต่อชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการพบปะสังสรรค์ และเป็นได้ทุกช่วงวัยโดยการแบ่งกลุ่มย่อยของภาวะซึมเศร้า แต่ละวัยดังต่อไปนี้

ภาวะซึมเศร้าในเด็ก และวัยรุ่น

  • ในวัยเด็กอาจจะมีอาการเศร้ารำคาญ เกาะติดผู้ปกครอง มีความกังวล น้ำหนักลด ไม่อยากไปโรงเรียนหรือมีอาจารย์เจ็บป่วยตามร่างกาย โดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปกครองควรจะเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
  • ภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่นอาจมีอาการเศร้ารำคาญหงุดหงิดมองโลกในแง่ร้าย ไม่เข้าสังคมรู้สึกไร้ค่ามักรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจ ขี้น้อยใจ หมดความสนใจในเรื่องที่ตนเองชอบ ใช้สารเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบำบัดให้ร่างกายดีขึ้น นอน หรือทานอาหารมากเกินไป ทำร้ายตัวเอง หรือการเรียนแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด

ภาวะซึมเศร้าใน ผู้สูงอายุ

  • มักพบได้บ่อยในผู้สูงวัย เป็นสภาวะที่เผชิญกับความสูญเสีย และเป็นเรื่องที่น่าห่วงควรได้รับการบำบัดและรักษาอย่างทันท่วงทีหากท่านสังเกต ผู้สูงอายุภายในบ้านที่มักไม่เข้าสังคม ให้สันนิษฐานได้เลยว่ากำลังจะเป็น โรคซึมเศร้า โดยมีข้อสังเกตดังนี้
  • พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม ความจำถอยลง
  • มีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นปวดหัว ปวดหลัง
  • เหนื่อยล่า เบื่ออาหาร มีปัญหาด้านการนอนหลับ หมดความสดชื่น ไม่สนในเรื่องเพศสัมพันธ์ หรืออาการอื่นๆ
  • มีความคิด หรือความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในเพศชายสูงอายุ

และนี่ก็คืออาการโรคของซึมเศร้า คนในครอบครัวควรสังเกต และใส่ใจคนรอบข้างหากมีสภาวะดังกล่าวให้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หรือทำแบบทดสอบ ระดับความรุนแรงโรคซึมเศร้า เพื่อประเมินความเศร้าหากอยู่ในภาวะซึมเศร้าที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ และรับการรักษาโดยทันที


ควรพบแพทย์เมื่อไหร่ เมื่อเป็น ซึมเศร้า

เมื่อรู้สึกว่ามี ภาวะซึมเศร้า ในระดับต้น ควรรีบศึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อรับการรักษา หรือพูดคุยกับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดที่ไว้วางใจได้ เพื่อระบายสิ่งที่อึดอัดในใจจะทำให้รู้สึกสบาย และลดคลายความกังวลได้ ไม่มากก็น้อย


ปัจจัยเสี่ยงของการเป็น โรคซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า เกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาการมักเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น และมักพบในเพศหญิงกว่าเพศชาย แต่เมื่อเพศหญิงรู้สึกตัว จะเข้ารับการรักษามากกว่าเพศชาย และปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า มีหลากหลายปัจจัยดังนี้

  • เป็นคนที่ปลีกตัวออกห่างจากสังคม มองโลกในแง่ร้ายการ ตำหนิติเตียนตนเอง การพึ่งพาคนอื่นมากเกินไปการไม่นับถือตนเอง เป็นอาการเริ่มต้นที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้
  • ผ่านเหตุการณ์เลวร้าย สร้างความบอบช้ำจิตใจไม่ว่าจะถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ สูญเสียบุคคลที่เป็นที่รัก มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ หรือปัญหาอื่นๆ ทางด้านครอบครัวความรักก็เป็นปัจจัยเสี่ยงได้หมด
  • คนในครอบครัวมีประวัติสุราเรื้อรัง ฆ่าตัวตาย เป็น โรคซึมเศร้า และไบโพล่า
  • มีประวัติความเจ็บปวดทางจิตเวช เช่นพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ โรควิกลจริต หรือสภาพป่วยทางจิต หลังต้องเผชิญกับเหตุการณ์กระทบจิตใจอย่างรุนแรง
  • การใช้ยาหรือสารเคมีบางตัวอย่างเช่น ยานอนหลับ หรือยาลดความดันโลหิต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเปลี่ยน หรือหยุดยาทุกครั้งไม่เปลี่ยนโดยอำเภอใจ
  • ผู้ที่มีภาวะโรคป่วยเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ เป็นต้น
การป้องกัน โรคซึมเศร้า ป้องกัน ซึมเศร้า
การป้องกัน โรคซึมเศร้า ป้องกัน ซึมเศร้า


การป้องกัน โรคซึมเศร้า

การป้องกัน โรคซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้ายังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีการบรรเทาด้วยการรักษาทางด้านจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยแต่ละบุคคลอาจจะตอบสนองไม่เท่ากัน บางคนอาจจะต้องรักษาอาการร่วมกันทั้งสอง ทั้งในการทานยา และการรักษาทางจิต จะช่วยให้คุณมีภูมิคุ้มกันทและสามารถสู้กับปัญหาที่เข้ามาในชีวต การรักษา 2 วิธีก็จะมีดังนี้

1. การรักษาทางจิตใจ

การรักษา โรคซึมเศร้าทางด้านจิตใจ มีอยู่หลากหลายรูปแบบช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้ โดยการพูดคุยกับจิตแพทย์ 10-20 ครั้ง อันนี้ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจ กับปัญหา และสาเหตุนำไปสู่การแก้ไข หรือการรักษาแบบการสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยสามารถปรับความคิด และพฤติกรรมพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ป่วยไม่พูดให้เกิดความกระทบจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกัน และสามารถสู้กับปัญหาได้ดี

2. การรักษาโรคซึมเศร้า ด้วยการใช้ยา

ในปัจจุบันการรักษา ภาวะ ซึมเศร้า ด้วยยาแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามระดับความรุนแรง และปัญหาแต่ละบุคคลโดยโครงสร้างทางเคมีที่ใช้ส่วนใหญ่จะมี 3 กลุ่มดังนี้

  • Tricyclic เป็นยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสีม่วง
  • Momoamine oxidase inhibitors มีชื่อเรียกย่อว่า MAOI
  • SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor)

ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป รวมถึงประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งแพทย์จะประเมินจากระดับความรุนแรงของผู้ป่วยว่าจะได้รับการทานยาชนิดไหน และแพทย์จะค่อยๆ ปรับยาให้เหมาะสมตามอาการต่อไป และสิ่งสำคัญไม่ควรที่จะหาซื้อยากินเอง หรือจากร้านค้า ควรจะเข้าพบแพท ย์และได้รับยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น


ผลข้างเคียงของการรักษา ภาวะซึมเศร้า

เมื่อผู้ป่วยได้รับ การรักษาจาก ภาวะซึมเศร้า จะมีผลข้างเคียงมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ก่อให้เกิดความรำคาญอย่างไ รก็ตามเมื่อรู้สึกว่ามีผลข้างเคียงจากการทานยากรุณาแจ้งแพทย์ให้ทราบผลข้างเคียง เพื่อที่จะมีการปรับเปลี่ยน และแนะนำวิธีการบรรเทาในการทานยาด้วย ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ที่มักพบดังต่อไปนี้

  • ปากแห้ง คอแห้ง รู้สึกกระหายน้ำ ควรเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล รักษาสุขภาพช่องปากให้สม่ำเสมอ
  • ท้องผูก อาหารไม่ย่อย กินอาหารที่มีกาก หรือไฟเบอร์ มีฤทธิ์ยาระบายอ่อนๆ ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ ส้มโอ มะละกอ มะขาม เป็นต้น
  • ปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยบางรายอาจมีการขับถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่ง อาจใช้มือกรอบหน้าท้อง เพื่อช่วยให้การปัสสาวะได้ดีขึ้น หรือปรึกษาแพทย์
  • ปัญหาทางเพศ อาจมีปัญหาขณะร่วมเพศซึ่งอาจจะทำให้หมดสนุกไม่มีอารมณ์ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์ได้
  • ตาพร่ามัว อาการนี้อาจจะหายไปได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องตกใจ
  • เวียนหัว อาการที่ได้รับผลกระทบจากการรักษา โรคซึมเศร้า เมื่อลุกขึ้นอาจจะมีการเวียนหัวอ่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการลุกจากเก้าอี้ หรือเตียงควรจะดื่มน้ำให้มาก
  • ง่วงนอน อาจมีอาการง่วงนอนควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าขับรถขณะง่วง หรือทำงานกับเครื่องจักรหากง่วงมากๆ ควรวงาแผนการกินยามื้อนั้นออกไปเป็นตอนหัวค่ำ


วิธีป้องกัน ซึมเศร้า

  • แนะนำตัวเอง อย่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน หรือเหตุการณ์ที่กระทึกจิตใจความรุนแรง
  • ลดการตั้งเป้าหมายที่ทำได้ยาก หรือเข้าไปแบบความรับผิดชอบที่ตนเองรับไม่ไหว
  • พยายามหาที่ปรึกษา หรือเพื่อนคุย หาที่ระบาย เพื่อบรรเทาอาการคลายเครียด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพบปะเพื่อนฝูงบางครั้งคราว
  • เข้าร่วมกิจกรรม ที่อาจทำให้เพลิดเพลินใจ ดูหนัง เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ อย่าหักโหม หรือหงุดหงิด
  • พยายามย่องานใหญ่ ให้เป็นงานชิ้นเล็ก เลือกทำสิ่งที่สำคัญกว่า และทำให้เป็นที่เท่าที่ตนเองทำไว้ไม่ควรแบกภาระไว้กับตัวเองมากเกินไป
  • หัดมองโลกในแง่บวกบอกตนเองว่าคิดแต่สิ่งดีๆ รับรอง ภาวะซึมเศร้า จะไม่เข้ามาใกล้คุณอย่างแน่นอน
  • อย่าด่วนตัดสินกับเรื่องปัญหาใหญ่ๆ ในชีวิต โดยการคิดพิจารณาให้รอบคอบ เพราะทุกอย่างไม่ใช่ที่สุดของชีวิตไม่ว่าจะเป็นการ ลาออก เปลี่ยนงาน หรือสามารถปรึกษาคนใกล้ตัว ที่พอจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้

โรคซึมเศร้า ที่มักพบบ่อยในปัจจุบันนี้ เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป และมีทุกช่วงเพศวัย มาจากสาเหตุความผิดปกติในสมอง ความเครียดฮอร์โมนสภาวะจิตใจ ซึ่งอาการเหล่านี้ ท่านควรสังเกต หรือปรึกษาคนในครอบครัว เพื่อทำการบัตรบำบัด และการใช้ยาในกลุ่มต่อต้านโรคซึมเศร้า สำหรับผู้มีอาการรุนแรง และการรักษาได้อย่างทันท่วงทีจะทำให้ท่านได้กลับมาชีวิตที่สดใสได้เหมือนเดิม และมีชีวิตที่ดีในการเข้าสู่สังคม

Related Posts